ผู้จัดทำ รับลิงก์ Facebook X Pinterest อีเมล แอปอื่นๆ ธันวาคม 07, 2560 คณะผู้จัดทำ 1.เด็กชายอมเรศ บัวล้อมใบ เลขที่ 15 2.เด็กหญิงณัฐชยา ฤทธิวัชร เลขที่ 21 3.เด็กหญิงณัฐหทัย ทองมา เลขที่ 22 4.เด็กหญิงศิวณาวรรณ เตินขุนทด เลขที่ 35 รับลิงก์ Facebook X Pinterest อีเมล แอปอื่นๆ ความคิดเห็น
คำนำ ธันวาคม 15, 2560 คำนำ “...คนที่ไปดูก็เห็นได้ว่า เริ่มต้นด้วยไม่มีอะไรเลย แต่ว่าต่อมาภายในวันเดียว ทุกคนในท้องที่นั้นก็เข้าใจว่าต้องช่วยกัน และยิ่งในสมัยนี้ในระยะนี้ เราต้องร่วมมือกันทำเพราะว่าถ้าไม่มีการร่วมมือกันก็ไม่ก้าวหน้า ไม่มีความก้าวหน้า ฉะนั้นการที่ท่านได้ทำแล้วมีความก้าวหน้านี้ เป็นสิ่งที่ดีมาก หลักการก็อยู่ที่ทุกคนต้องช่วยกันเสียสละ เพื่อให้กิจการในท้องที่ก้าวหน้าไปด้วยดี ก้าวหน้าได้อย่างไร ก็ด้วยการช่วยเหลือกัน แต่ก่อนนั้นเคยเห็นว่ากิจการที่ทำ มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งทำ แล้วก็ทำให้ก้าวหน้า แต่อันนี้มันไม่ใช่กลุ่มหนึ่งมันทั้งหมด ร่วมกันทำและก็มีความก้าวหน้าแน่นอน อันนี้เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ และเป็นสิ่งที่ทำให้มีความหวัง มีความหวังว่า ประเทศชาติจะก้าวหน้า ประเทศชาติจะมีความสำเร็จ...” อ่านเพิ่มเติม
ศาสตร์พระราชา เรื่อง โครงการชั่งหัวมัน ในจังหวัดเพชรบุรี2 ธันวาคม 15, 2560 ส่วนหนึ่งของโครงการนี้ได้ให้ชาวบ้านเข้ามาศึกษาดูงาน นับเป็นโครงการส่วนพระองค์ที่แท้จริงรวมถึงเป็นพื้นที่ให้ศึกษาดูงานสำหรับ ประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา มาได้เป็นครอบครัวหรือหมู่คณะ โดยได้มีรถรงพานำชมทั่วไร่พร้อมวิทยากรบรรยายตามแต่ละจุด เปิดให้ชมตั้งแต่ 08.30 น. – 18. 00 น. นอกจากนี้ยังมีบริการจักรยานรองรับผู้เข้าชมและห้องชมวีดิทัศน์ของโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ภายในโครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริจัดเตรียมไว้ สำหรับให้ความรู้ด้านการเกษตร รวมถึงมีจักรยานให้ปั่นรอบโครงการ ซึ่งโครงการฯได้ขอความร่วมมือเก็บค่าบริการเข้าชม สำหรับผู้ใหญ่ ( อายุ 15 ปีขึ้นไป ) ท่านละ 20 บาท นักเรียน นิสิต นักศึกษา ในเครื่องแบบคนละ 10 บาท ส่วน พระสงฆ์ สามเณร แม่ชี นักบวช ผู้พิการ และเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ได้รับการยกเว้นค่าบริการ หากต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อเจ้าหน้าที่ล่วงหน้า สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.0-3247-2700-1 อ่านเพิ่มเติม
เเนวทางการบริหารงาน ธันวาคม 15, 2560 แนวทางการบริหารงาน 1. บริหารทรัพยากรแบบบูรณาการ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า ได้แก่ การพัฒนาอ่างเก็บน้ำหนองเสือเพื่อส่งน้ำไปใช้ในโครงการ โดยมีสัตว์เก็บกักน้ำไว้ 2 สระ ไว้รองรับและกระจายนำเข้าสู่ระบบการเพาะปลูก ฟาร์มปศุสัตว์ และโรงงานแปรรูปนม รวมทั้งการขุดเอาเจาะน้ำบาดาลเพื่อนำมาใช้ในการอุปโภคด้วย 2. ใช้ช่องทางการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรของโครงการฯ ผ่านร้านโกลเด้นเพลส (Golden Place) ภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท สุวรรณชาด จำกัด ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อควบคุมผลผลิตให้มีคุณภาพและจำหน่ายถึงผู้บริโภคโดยตรง 3. เป็นแหล่งเรียนรู้ ในการนำพลังงานสะอาดจากธรรมชาติมาใช้เป็นพลังงานทดแทนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น ทุ่งกังหันลม (Wind Farm) และแผงพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar cells) สามารถจำหน่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้เข้าสู่ระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งนอกจากเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่โครงการฯ แล้ว ยังช่วยให้ราษฎรในหมู่บ้านต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง มีกระแสไฟฟ้าใช้ได้อย่างพอเพียง และทั่วถึง 4. เป็นแหล่งสาธิตทางการเกษตรของภาคเอกชนและวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้โครงการนี้มีประโยชน์แก่เกษตรก... อ่านเพิ่มเติม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น