อ้างอิง (online) http://www.tsdf.com http://www.paiduaykan.com (วันที่สืบค้น วันที่15 เดือนธันวาคม พ.ศ2560)
บทความ
คำนำ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
คำนำ “...คนที่ไปดูก็เห็นได้ว่า เริ่มต้นด้วยไม่มีอะไรเลย แต่ว่าต่อมาภายในวันเดียว ทุกคนในท้องที่นั้นก็เข้าใจว่าต้องช่วยกัน และยิ่งในสมัยนี้ในระยะนี้ เราต้องร่วมมือกันทำเพราะว่าถ้าไม่มีการร่วมมือกันก็ไม่ก้าวหน้า ไม่มีความก้าวหน้า ฉะนั้นการที่ท่านได้ทำแล้วมีความก้าวหน้านี้ เป็นสิ่งที่ดีมาก หลักการก็อยู่ที่ทุกคนต้องช่วยกันเสียสละ เพื่อให้กิจการในท้องที่ก้าวหน้าไปด้วยดี ก้าวหน้าได้อย่างไร ก็ด้วยการช่วยเหลือกัน แต่ก่อนนั้นเคยเห็นว่ากิจการที่ทำ มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งทำ แล้วก็ทำให้ก้าวหน้า แต่อันนี้มันไม่ใช่กลุ่มหนึ่งมันทั้งหมด ร่วมกันทำและก็มีความก้าวหน้าแน่นอน อันนี้เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ และเป็นสิ่งที่ทำให้มีความหวัง มีความหวังว่า ประเทศชาติจะก้าวหน้า ประเทศชาติจะมีความสำเร็จ...”
ความเป็นมา
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ความเป็นมา เมื่อปลายปี พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงซื้อที่ดินจากราษฎร พื้นที่ประมาณ 120 ไร่ ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำหนองเสือ บ้านหนองคอไก่ หมู่ที่ 5 ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ต่อมา ปี พ.ศ. 2552 ทรงซื้อแปลงติดกันเพิ่มอีก 130 ไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมด 250 ไร่ และทรงมีดำริให้ทำเป็นโครงการตัวอย่างด้านการเกษตร รวบรวมพันธุ์พืชเศรษกิจในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง มาปลูกไว้ที่นี่ โดยเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฏาคม 2552 เป็นต้นมา สภาพพื้นที่โดยทั่ว ๆ ไป แห้งแล้ง ดินปนทรายและหินลูกรัง เจ้าของที่ดินเดิมปลูกต้นยูคาลิปไว้และตัดไม้ขายไปแล้ว มีแต่ต้นยูคาลิปที่งอกมาจากต้นตอเดิมเต็มพื้นที่ มีแปลงมะนาวเดิมอยู่ประมาณ 35 ไร่ และแปลงปลูกอ้อย 30 ไร่ จึงได้พัฒนาพื้นที่ ให้เป็นแปลงปลูกพืชเศรฐกิจ ซึ่งมีทั้งพืชผักสวนครัว นาข้าว สวนไม้ผล ยางพารา มะพร้าว สับปะรด พืชไร่ ฯลฯ กองงานส่วนพระองค์ ขอความร่วมมือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้เข้ามาช่วยกันปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ เช่น การทำถนนเข้าโครงการ ขุดสระเก็บน้ำ ทำรั้วรอบโครงการ ก่อสร้างอาคาร...
จุดประสงค์เเละเป้าหมาย
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจ พืชพันธุ์ดีของอำเภอท่ายาง และของจังหวัดเพชรบุรี 2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกร 3. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแปลงหรือมาช่วยงานพระองค์ เป้าหมาย โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ มีเป้าหมายในการสนองพระราชประสงค์และพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ให้เป็นศูนย์รวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจของอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงรวมทั้งการจัดการฟาร์มโคนม และโรงเลี้ยงไก่ไข่ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นม ซึ่งมีผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์ และสเตอริไรส์ ตลอดจนมีหน่วยทดลองพลังงานทดแทน เช่น ทุ่งกันหันลม พลังงานแสงอาทิตย์ และไบโอดีเซล ทั้งนี้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงชาวบ้านที่อยู่พื้นที่ใกล้เคียงได้เข้ามาร่วมกันบำรุงดูแลรักษา และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นตามวิถีการดำรงชีวิตเกษตรกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “...โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ ได้ดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษ ภายใต้การควบคุมกำกับดูแลขั้นตอนการผลิตอย่างใกล้ชิ...
เเนวทางการบริหารงาน
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
แนวทางการบริหารงาน 1. บริหารทรัพยากรแบบบูรณาการ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า ได้แก่ การพัฒนาอ่างเก็บน้ำหนองเสือเพื่อส่งน้ำไปใช้ในโครงการ โดยมีสัตว์เก็บกักน้ำไว้ 2 สระ ไว้รองรับและกระจายนำเข้าสู่ระบบการเพาะปลูก ฟาร์มปศุสัตว์ และโรงงานแปรรูปนม รวมทั้งการขุดเอาเจาะน้ำบาดาลเพื่อนำมาใช้ในการอุปโภคด้วย 2. ใช้ช่องทางการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรของโครงการฯ ผ่านร้านโกลเด้นเพลส (Golden Place) ภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท สุวรรณชาด จำกัด ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อควบคุมผลผลิตให้มีคุณภาพและจำหน่ายถึงผู้บริโภคโดยตรง 3. เป็นแหล่งเรียนรู้ ในการนำพลังงานสะอาดจากธรรมชาติมาใช้เป็นพลังงานทดแทนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น ทุ่งกังหันลม (Wind Farm) และแผงพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar cells) สามารถจำหน่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้เข้าสู่ระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งนอกจากเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่โครงการฯ แล้ว ยังช่วยให้ราษฎรในหมู่บ้านต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง มีกระแสไฟฟ้าใช้ได้อย่างพอเพียง และทั่วถึง 4. เป็นแหล่งสาธิตทางการเกษตรของภาคเอกชนและวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้โครงการนี้มีประโยชน์แก่เกษตรก...
กิจกรรมโครงการเเละผลิตภัณฑ์
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
กิจกรรมโครงการ • การใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้าเพื่อเป็นพลังงานทดแทน • การผลิตพืชปลอดภัยจากสารพิษ • การสาธิตการปลูกสบู่ดำ • การปลูกข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ • แปลงศึกษาและส่งเสริมการผลิตชมพู่เพชรสายรุ้ง • แปลงศึกษาและส่งเสริมการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง • การทำปุ๋ยหมัก • การปลูกไม้ผล พืชไร่ ประกอบด้วย แก้วมังกร กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก มะละกอ มะนาว ฟักทอง กล้วย อ้อย มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวห้าว ฯลฯ • การปลูกพืชผัก ประกอบด้วย มันเทศ กระเพรา โหระพา พริกพันธุ์ซูปเปอร์ฮอต มะเขือเทศราชินี กระเจี๊ยบเขียว วอเตอร์เครส มะระขี้นก ผักหวานบ้าน ฯลฯ ผลิตภัณฑ์ โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ ได้ดำเนินการผลิต ผลิตภัณฑ์เกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษ ภายใต้การควบคุมกำกับดูแลขั้นตอนการผลิตอย่างใกล้ชิด โดยนักวิชาการเกษตรที่มีความชำนาญ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ผ่านการเก็บเกี่ยวรวบรวมผลิตภัณฑ์ ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ การคัดเลือก คัดแยก และบรรจุ เพื่อส่งถึงผู้บริโภคให้มั่นใจได้ว่า ผู้บริโภคจะได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ โดยผลิตภัณฑ์จากโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ จะมีวางจำหน่ายเฉพาะที่ร้านโกลเ...
ศาสตร์พระราชา เรื่อง โครงการชั่งหัวมัน ในจังหวัดเพชรบุรี
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ

โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ ตั้งอยู่ใน อ. ท่ายาง จ. เพชรบุรี เกิดขึ้นจากความเอาพระทัยใส่ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ที่ทรงมีต่อเกษตรกรในการที่จะพัฒนาส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้ ประสบความสำเร็จและสามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้อย่าง ยั่งยืน ประวัติที่มาของโครงการนี้ เริ่มตอนที่ตอนพระองค์ท่านประทับอยู่ ณ วังไกลกังวลแล้วมีชาวบ้านนำมันเทศมาถวาย ช่วงนั้นพระองค์ ต้องเสด็จกลับกรุงเทพ เลยรับสั่งให้ เจ้าหน้าที่นำหัวมันเทศนั้นไปวางไว้บนตาชั่งในห้องทรงงานจากนั้นก็เสด็จกลับกรุงเทพ เวลาล่วงเป็นเดือน เมื่อเสด็จกลับมาหัวหินทรงพบว่า มันเทศนั้นได้แตกใบ เลยตรัสว่า "มัน อยู่ที่ไหนก็ขึ้น"ดังนั้นจึงมีพระราชดำริให้จัดหาที่ดิน เพื่อทำโครงการด้านการเกษตร ปี พ.ศ. 2551 ก็ได้ซื้อที่ดินจำนวน 120 ไร่ และต่อมาในกลางปี 2552 ทรงซื้อที่ดินแปลงติดกันเพิ่มอีก ณ บ้านหนองคอไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 250 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์รวบรวมพืชเศรษฐกิจนานาชนิด เพื่อเป็นแนวทางให้กับเกษตรกรโดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอท่ายางจังหวัดเพชรบุรี ที่มีพื้นที่ค่อนข้าง แห้งแล้ง ทรงพระราชทานพ...